herbthai
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  |  
 ตะกร้าสินค้า (0)  |  
 

(Root) 2010210_52884.jpg

 

HERB THAI FOR YOU

MAKET ONLINE

 

 

(Root) 2010210_52855.jpg

ขมิ้นเป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวใบรูปเรียวยาว ปลายแหลมคล้ายใบพุทธรักษา ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงออกมาจากเหง้าโดยตรง ออกตรงกลางระหว่างใบคู่ใ นสุด ดอกสีขาวอมเหลืองพืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ใต้ดินเนื้อในของเหง้า ขมิ้นชันมีสีเหลืองเข้ม จนสีแสดจัด

 


ประโยชน์และสรรพคุณของขมิ้นชัน 

 

                ขมิ้นชัน นับได้ว่าเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์มาก นอกจากจะใช้ในการประกอบอาหารแล้วยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้หลากหลาย  ซึ่งสามารถสรุปประโยชน์ สรรพคุณและวิธีการใช้ขมิ้นชันได้  ดังนี้ 

                (1) นำใบขมิ้นมาหั่นเป็นฝอยเป็นเครื่องปรุงของข้าวยำ (จังหวัดนครศรีธรรมราช)

                (2) การใช้ขมิ้นชันผสมในเครื่องแกง ซึ่งนอกจากจะช่วยปรุงแต่งรสชาติและทำให้น้ำแกงมีสีสวยน่ารับประทานแล้วที่สำคัญก็เพื่อเป็นยาแก้อาการต่างๆ โดยเฉพาะทางภาคใต้  นิยมใส่ขมิ้นลงในแกงเผ็ดแทบทุกชนิด เช่น แกงเหลือง แกงกะทิ และแกงไตปลา  หรือแม้แต่แกงประเภทต้ม เช่น ไก่บ้านต้มขมิ้น ต้มปลา ตลอดจนอาหารประเภทปลาทอดต่าง ๆ  เช่น ปลาทรายทอดขมิ้น เป็นต้น

                (3) นำผงเหง้าขมิ้นผสมกับน้ำฝน คนให้เข้ากันใช้ทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน

                (4) ผงเหง้าขมิ้นชันมีฤทธิ์ลดอาการอักเสบและสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของเชื้อหนองได้ จึงสามารถนำมาทาแก้อาการผื่นคันเนื่องจากความอับชื้น ยุงหรือแมลงกัดต่อย และรักษาแผลพุพองมีหนอง โดยใช้เหง้าขมิ้นชันสดตำให้ละเอียด คั้นเอาเฉพาะน้ำ นำมาทาบริเวณผื่นคันหรืออาจใช้ผงขมิ้นชันแห้งผสมน้ำเล็กน้อยทาบริเวณผื่นคัน หรือนำเหง้าขมิ้นมาขูดเอาเนื้อขมิ้นทาบริเวณที่ถูก กัด จะทำให้หายคันและตุ่มจะยุบหายไป 

                (5) ผสมผงเหง้าขมิ้นกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน กินครั้งละ 3-5 เม็ด วันละ 4 ครั้งหลังอาหาร และก่อนนอน เพื่อรักษาอาการท้องอืด เฟ้อ อาหารไม่ย่อย และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

                (6) นำเหง้าขมิ้นขนาดพอสมควรมาล้างให้สะอาด    ตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ    เจือน้ำสุกเท่าตัว กินครั้งละประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง อาจเติมเกลือเล็กน้อยเพื่อให้กินได้ง่ายขึ้น ใช้รักษาอาการท้องร่วง

                (7) ผสมผงเหง้าขมิ้น 1 ช้อนโต๊ะกับน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันหมู 2-3 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ และคนไปเรื่อย ๆ จนน้ำมันกลายเป็นสีเหลือง ใช้น้ำมันที่ได้ใส่แผล หรือจะใช้ขมิ้นที่ล้างให้สะอาดแล้วมาตำจนละเอียดคั้นเอาน้ำใส่แผลสดก็ได้

                (8) แก้ท้องร่วง  แก้บิด  หัวขมิ้นชั้นคั้นน้ำ เจือน้ำสุกเท่าตัว  กินครั้งละ 2  ช้อนโต๊ะ  กิน วันละ

3-4  ครั้ง หรือหัวขมิ้นชันเผาไฟ โขลกให้ละเอียด คั้นกับน้ำปูนใส กินครั้งละ 1-2  ถ้วยชา ขมิ้นช่วยระงับการเกร็งตัวของลำไส้ ในคนที่ท้องเสีย หรือเป็นบิด 

                (9) แก้นิ่ว โดยตำละเอียด  คั้นเอาน้ำผสมน้ำปูนใส  กินครั้งละ 1- 2 ถ้วยชา วันละ 2-3 ครั้ง

                (10) แก้ตกเลือด  เอาขมิ้นชันผง ๑ ช้อนแกง ผสมกับน้ำต้มสุก ๑ ถ้วยชา ใช้กินเพียง ครั้งเดียว แก้หญิงตกเลือดให้หยุด หรือเอาขมิ้นชันละลายสุรา แทรกพิมเสน กินก็ได้

                (11)  ยาสตรีหลังคลอดบุตร  ใช้ผงขมิ้นชันผสมดินสอพอง ทาท้อง หญิงมีครรภ์ ตั้งแต่ ท้องเริ่มขยาย จนหลังคลอด จะทำให้ท้องสวย เหมือนยังสาว

                (12)  ขับพยาธิ  น้ำคันจากหัวขมิ้นชันสด กินครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ กิน เป็นยาฆ่าพยาธิ และขับพยาธิ

                (13)  แก้ไข้ แก้หวัด ใช้หัวสด ขยี้ดมแก้หวัด คัดจมูก หรือใช้ผงขมิ้นโรยใน ไฟ แล้วสูดดม (14)  บรรเทาอาการปวดหัว  ใช้ผงขมิ้นผสมแป้งปิดพอกศีรษะ แก้ ปวด ศีรษะ           

                (15) แก้ตาแดง  เอาผงขมิ้นชันโรยในเตาถ่าน ให้มีควันลอยขึ้นมา ลืมตารมควันนี้ วันละครั้ง เพียง 2-3 ครั้ง เจ็บตา ตาช้ำก็จะหาย

                (16) รักษาโรคฟัน  เคี้ยวเกลือกับขมิ้นชัน แล้วอมไว้ 10 นาที ทำเป็นประจำ ฟันจะคงทน นอกจากนี้ ยังใช้ขมิ้นชันขัดฟัน ให้ขาว โดยเอานิ้วแตะขมิ้นชันแล้ว นำมาขัดฟันให้ทั่ว ทิ้งไว้สักครู่ จึงบ้วนทิ้ง แปรงด้วยยาสีฟันอีกครั้ง ทำให้ฟันขาว และคงทน

                (17) แก้ปวดฟัน  ขมิ้นชันสดโขลกกับเกลือให้เค็มจัด ผสมพิมเสน การบูร บดละเอียด ให้แทนยาสีฟัน แก้ปวดฟัน เหงือกบวม

                (18) แก้น้ำกัดเท้า  ล้างเท้าให้สะอาด เช็ดให้แห้ง ฝนขมิ้นชัน ทาก่อน จึงทาปูนแดงลงไปตรงน้ำกัด แผลจะแห้ง และตกสะเก็ด หายไปในที่สุด

                (19)  แก้ฟกช้ำ  เอาขมิ้นผสมปูนแดง ทาแก้ฟกช้ำดำเขียว

                (20) แก้ชันตุ  เอาขมิ้นชัน 2 องคุลี เนื้อมะพร้าวแก่ๆ ขนาดเท่านิ้วชี้ 2 ชิ้น ใบมะลิ 1 กำมือ ตำรวมกันทำเป็นลูกประคบ แต้มตามศีรษะ ใช้กับเด็กเล็กๆ ที่เป็น แผลพุพอง น้ำเหลืองเยิ้มเป็นตุ่มๆที่หนังหัว มีกลิ่น เหม็นคาว เมื่อทายาแล้ว แผลจะตกสะเก็ด ต้องสระผม ให้เด็กตอนเช้า

                (21)  แก้ผื่นคัน  ใช้ขมิ้นชันผง โรยบนส่วนที่คัน แล้วลูบ ค่อยๆ ให้ ขมิ้นติดอยู่ส่วนที่เป็นผื่น

                (22)  แก้พิษงูกัด   เอาขมิ้นชัน ทาบริเวณยุงกัด ตุ่มคันจะ หายไป

                (23) รักษาฝี  ขมิ้นผสมเกลือพอเค็ม ตำพอกแก้พิษฝี ที่เจ็บปวด

                (24)  แก้พิษมดกัด  ให้เอาน้ำล้างมดออก โรยผงขมิ้น ให้ทั่วๆ ขา ที่ยังเปียก อยู่ ขมิ้นจะดับพิษมดกัด [1]

                (25) สารเคอร์คูมินในขมิ้นชันมีฤทธิ์ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมลูกหมาก และอัลไซเมอร์[2] 

 

            1.4 การแปรรูปและผลิตภัณฑ์

 

                แม้ว่าสรรพคุณของขมิ้นชันในด้านต่าง ๆ จะเป็นที่รู้จักกันมานานแต่การนำขมิ้นชันมาใช้เป็นส่วนผสมสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจำหน่ายในเชิงอุตสาหกรรม เช่น แชมพู ครีมทาหน้า หรือ สบู่ เพิ่งได้จะมีการศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจังเมื่อไม่นานมานี้ กรมวิชาการเกษตร  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [3]  ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับขมิ้นชันและสรุปผลการทดลองใช้ประโยชน์เชิงอุตสาหกรรมจากขมิ้นชัน ไว้ดังนี้

                การใช้ขมิ้นสด ใช้ขมิ้นสดมาเป็นส่วนผสมในแชมพูสระผม สบู่เหลว และโลชั่นทาผิว โดยนำขมิ้นสดมาตำแล้วละลายน้ำ ต้มให้เดือด กรองเอาแต่น้ำ แล้วนำไปผสมกับเครื่องสำอางค์โดยใช้ขมิ้นสด ร้อยละ 4, 8,12, 16, 20 โดยน้ำหนัก เมื่อให้ผู้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์จำนวน 20 คน แล้วให้คะแนนปรากฏว่า ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดและทุกระดับได้รับการยอมรับทั้งความชอบ สี และความละเอียดของผลิตภัณฑ์ ที่มีขมิ้นเป็นส่วนผสม ส่วนโลชั่นทาผิวที่มีขมิ้นเป็นส่วนผสมมักจะมีสีติดเสื้อผ้าบ้างเล็กน้อย

                การใช้ขมิ้นแห้ง นำขมิ้นแห้งมาละลายน้ำ ต้มให้เดือด กรองเอาแต่น้ำ แล้วนำไปผสมกับเครื่องสำอางโดยใช้ขมิ้นแห้งร้อยละ 2, 4, 6, 8, 10, 12, และ 14 โดยน้ำหนัก เมื่อให้ผู้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์จำนวน 20 คน แล้วให้คะแนน ผลปรากฎว่า ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดและทุกระดับได้รับการยอมรับทั้งความชอบ สี และความละเอียดของผลิตภัณฑ์ ที่มีขมิ้นเป็นส่วนผสม ส่วนโลชั่นทาผิวที่มีขมิ้นเป็นส่วนผสมด้วยนั้น มักจะมีสีขมิ้นติดเสื้อผ้าบ้างเล็กน้อย

                 การทำขมิ้นแห้ง

                เนื่องจากขมิ้นชันหัวสดไม่สามารถเก็บไว้ได้นานจึงนิยมนำขมิ้นชันมาแปรรูปเป็นขมิ้นแห้ง  ขั้นตอนในการทำขมิ้นแห้งเริ่มจากทำความสะอาด คัดแยกหัวและแง่งออกจากกัน ตัดรากและส่วนต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการทิ้ง อาจใช้แปลงช่วยขัดผิว หรือตัดทิ้งในส่วนที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ทั่วถึง คัดเลือกส่วนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง นำมาล้างด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  หลังจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการเตรียมขมิ้นก่อนทำให้แห้ง ซึ่งมี 2 รูปแบบ

                (1) แบบชิ้น โดยหั่นหัวหรือแง่งเป็นชิ้นบาง ๆ วางบนถาดหรือกระด้ง หมั่นกลับบ่อย ๆ หรือการอบที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส สำหรับ 8 ชั่วโมงแรก แล้วลดอุณหภูมิลงเป็น 40-45 องศาเซลเซียส หมั่นกลับบ่อย ๆ อบจนแห้ง โดยทั่วไปขมิ้นชันสด 5-6 กิโลกรัมจะได้ขมิ้นชันแห้ง 1 กิโลกรัม

                 (2) แบบทั้งแง่ง ตลาดต่างประเทศนิยมซื้อมากในสภาพแง่งแห้ง โดยนำแง่งที่ทำความสะอาดแล้ว ต้มในน้ำเดือดนาน 1-2 ชั่วโมง หรือต้มในน้ำด่างอ่อนเช่น โซเดียมไบคาร์บอเนต

(product) 200884-19-40523.jpg

 

วิธีการจัดส่งสินค้า

ลำดับที่ รายละเอียดการจัดส่งค่าขนส่ง (บาท)
1. ส่งสินค้าด้วย EMS เร็วทันใจออร์เดอร์ละ 70 บาท 70.00
 

Google

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 22,190 Today: 3 PageView/Month: 58

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...